แหล่งดาวน์โหลดโปรแกรมน่าสนใจ

ดาวน์โหลดโปรแกรมที่จำเป็นต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว และธุรกิจของคุณ
เคล็ดลับการป้องกันโรคเรื้อรังหรือ NCDs โรคที่เกิดจากพฤติกรรม

ปัญหาสุขภาพหรือโรคเรื้อรังแบบไม่ติดต่อหรือที่สามารถติดต่อได้นั้น สาเหตุสำคัญ คือ ร่างกายคุณมีความเสื่อมที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโรคและระบบการความผิดปกติที่จะควบคุมการผลิตเซลล์ การทำงานของอวัยวะในระบบต่างๆ ที่กล่าวมานี้หากคุณมีอายุช่วง 50-60 ปีขึ้นไปก็น่าจะเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นไปตามกาลเวลา แต่ถ้าคุณมีอายุที่ต่ำกว่านี้แล้วพบว่าคุณเจอปัญหาสุขภาพเหล่านี้แล้ว

ซึ่งก่อนที่มันจะลุกลามคุณอาจจะป้องกันหรือรักษาได้ทันท่วงที ซึ่งด่านแรกของความเสื่อมในร่างกายคุณ คือ “การกินอาหาร” ที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังเป็นประจำ เช่น อาหารที่ผ่านการปรุงแต่งหรือผ่านการแปรรูปหรือใช้การสังเคราะห์ทางเคมีสูง ผสมสารกันเสีย มีน้ำตาลสูง สารตกแต่งเพิ่มรสชาติหรือสีสันต่างๆ อาหารขยะหรือประเภท Junk Food เช่น แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า เฟรนซ์ฟรายด์ นักเกต ฮ๊อตดอก พาย รวมถึงเนื้อสัตว์ทอดที่ใช้ไฟแรง เป็นต้น และอาหารประเภทธัญพืชขัดสี เช่น ข้าวขาว แป้งขาว เป็นต้น

เป็นเรื่องยากถ้าคุณสังเกตเพื่อต้องการรับรู้ถึงความผิดปกติของความเสื่อมในเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายคุณที่ค่อยๆ กลายเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) แต่นั่นก็ไม่ทำให้การเลือกกินอาหารดังที่กล่าวมาที่มีรสชาติอร่อย จากโฆษณาที่น่าสนใจ จากการที่ต้องกินเพื่อแข่งกับเวลาที่เร่งรีบ และนี่ทำไมการกินถึงเป็น 1 วิธีเริ่มต้นที่สำคัญต่อสุขภาพคุณที่คุณต้องเริ่มต้นทำได้เลยก่อนสายเกินไป และการกินนี้เองเป็นสาเหตุหลักที่จะส่งผลต่อการเกิด 4 กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่คนไทยและทั่วโลกเป็นมากสุด ได้แก่

❈ กลุ่มโรคความเสื่อมในร่างกาย

❈ กลุ่มโรคมะเร็งและเนื้องอก

❈ กลุ่มโรคระบบไหลเวียนโลหิต

❈ กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ

วิถีการกินกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เกือบทั้งหมดเริ่มต้นในลำไส้ของคุณจริงเหรอ
ผ่านมามากกว่า 2,000 ปี ที่นักปราชญอย่างฮิปโปเครติสได้กล่าวเป็นนัยสำคัญว่า “โรคทั้งหมดจะเริ่มต้นในลำไส้เพราะการกินของคุณ” และสอดคล้องกับการศึกษาวิจัยจากแหล่งในยุคปัจจุบันก็มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าโรคเมตาบอลิซึมเรื้อรังหลายโรคเกิดขึ้นจากกินอาหารที่ผ่านการแปรรูปโดยไม่เหลือความเป็นธรรมชาติอย่างเช่นในอดีตหรือก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เพราะ 70% ของภูมิคุ้มกันร่างกายอยู่ที่ “ลำไส้” ของคุณที่มีแบคทีเรียหลายล้านล้านตัว ซึ่งรวมกันอยู่กระเพาะอาหารและลำไส้ หากคุณมีเชื้อแบคทีเรียชนิดดีก็จะส่งเสริมให้คุณมีสุขภาพดีไปโดยธรรมชาติ

แต่ทว่าเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่ที่คุณมีกลายเป็นชนิดเป็นพิษ นั่นก็จะรวมตัวกันสร้างสารพิษเอนโดท็อกซิน (Endotoxin) คือ สารพิษที่มีอยู่บริเวณด้านนอกของผนังเซลล์แบคทีเรีย สารพิษนี้สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยากระตุ้นภูมิคุ้มที่มากเกินร่างกายจะควบคุมได้ ที่จะมีผลต่อการทำลายเซลล์และระบบอวัยวะต่างๆ ให้เสื่อมลงอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง ที่จะแสดงออกมาเป็นอาจไข้เรื้อรัง ภูมิแพ้ เวียนศีรษะ ซึมเศร้า ปวดข้อปวดกล้ามเนื้อ ภาวะออฟิศซินโดรม และในระยะยาวอาการต่างๆ จะพัฒนาเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โรคเมตาบอลิซึมเรื้อรัง (Metabolic Syndrome) และโรคอ้วน และหากสารพิษมีปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มที่รุนแรงต่อติดอักเสบหรือติดเชื้อแบคทีเรียอย่างเฉียบพลันอาจถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือดได้

สารพิษเอนโดท็อกซินจะเข้าสู่การไหลเวียนโลหิตของคุณพร้อมกับไขมันในอาหาร หรืออาจจะรั่วผ่านรอยต่อที่เยื่อบุลำไส้ที่เกิดจากภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut) จากภาวะอาหารไม่ย่อยหรือย่อยอาหารได้ไม่ดีซึ่งจะส่งผลให้มีการระคายเคืองต่อเยื่อบุลําไส้ของคุณ สร้างความเสียหายให้มากขึ้นไปเรื่อยๆ จนเกิดภาวะลำไส้รั่ว โดยอาหารที่หากบริโภคในปริมาณที่มากและต่อเนื่อง จะเร่งการสนับสนุนแบคทีเรียชนิดเป็นพิษปลดปล่อยสารพิษเอนโดท็อกซินในระดับที่เป็นอันตราย รวมถึงกระตุ้นให้เกิดภาวะลำไส้รั่วที่คุณควรรู้ ได้แก่

อาหารประเภทคาร์โบไฮเดตรหรือแป้งขัดสี ได้แก่ เส้นบะหมี่ ข้าวขาว ขนมปัง แป้งมัน เป็นต้น
อาหารประเภทจานด่วน Fast Food, Junk Food เช่น พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ ข้าวหรือขนมปังขัดขาว เบอเกอรี่ เป็นต้น
อาหารรสหวาน หรือเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาล เช่น เค้ก ไอศกรีม ชานมไข่มุก เครื่องดื่มชูกำลัง นมเปรี้ยว เป็นต้น
อาหารทอดผัดผ่านความร้อนสูงรวมถึงการใช้น้ำมันซ้ำ เช่น หมู-ไก่ทอด เฟรนฟรายด์ นักเก็ต ลูกชิ้นทอด ขนมอบกรอบ มันฝรั่งทอดกรอบ น้ำมันพืช น้ำมันปาล์ม เป็นต้น
อาหารที่ผ่านการกระบวนการแปรรูปขั้นสูง หรือใช้สารเคมีปรุงแต่งอาหารหลากหลาย เช่น บะหมีกึ่งสำเร็จรูป ไส้กรอก ซีเรียล คุ๊กกี้ ขนมปังต่างๆ เป็นต้น
อาหารที่เสริมวัตถุกันเสีย
แค่ปรับการกินอาหาร ก็ปรับปริมาณจุลินทรีย์ชนิดดีในลําไส้คุณอย่างเหมาะสม
การวิจัยได้สังเกตเห็นความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของเชื้อแบคทีเรียชนิดีในลําไส้ของผู้ที่มีสุขภาพลำไส้ที่ดีจะส่งผลต่อความเสี่ยงในการแพ้อาหารต่างๆ ได้ ลักษณะลำไส้ที่มีสุขภาพดีจะประกอบด้วยแบคทีเรียหลายชนิด ได้แก่ Bacteroides, Enterobacteria, Bifidobacteria และ Lactobacilli ปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียเหล่านี้กับระบบภูมิคุ้มกันในลําไส้จะสนับสนุนร่างกายให้สามารถทนต่อสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้เกิดภูมิแพ้อาหารได้
ดังนั้นการเสริมโปรไบโอติกส์ (Probiotics) (กลุ่มแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ขนาดเล็ก เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดี มีประโยชน์ต่อร่างกายดังตัวอย่างที่ได้กล่าวไป) ซึ่งแหล่งที่ดีของโปรไบโอติกส์ ได้แก่ กรีกโยเกิร์ตหรือโยเกิร์ตสูตรธรรมชาติ ซุปมิโซะ กิมจิ น้ำหมักคัมบูชา น้ำหมักแอปเปิ้ลผสมหัวเชื้อ และการเพิ่มพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) (แหล่งอาหารที่สำคัญของโพรไบโอติกส์ ซึ่งจะส่งเสริมสภาพการเจริญเติบโตที่เหมาะสม สำหรับแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์สายพันธุ์ดีในลำไส้) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเชื้อโปรไบโอติกส์ โดยการกระตุ้นการเจริญเติบโตในลําไส้ได้ดีและเหมาะสม

กินร่วมกับอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น พืชใบเขียว ธัญพืชหรือถั่วเปลือกแข็ง (ที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ GMO) กล้วย หัวหอมใหญ่ กระเทียม เป็นต้น ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อเป็นอาหารให้เหล่าพันธมิตรเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้คุณ จะช่วยฟื้นฟูอาการแพ้อาหารผ่านกลไกอันซับซ้อนจากการทำงานของเหล่าจุลินทรีย์สายพันธุ์ดีที่ช่วยปรับระบบย่อยอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันในลําไส้ให้มีสุขภาพที่ดีได้
หากเป็นอาหารไทย สามารถรับประทานผักสดกับน้ำพริกที่มีส่วนผสมของหอมแดง กระเทียม และยิ่งดีหากสามารถจัดหาน้ำพริกดังกล่าวนี้ได้ในทุกมื้อ จะยิ่งเป็นการตัวช่วยสนับสนุนระบบการย่อยอาหารให้มีประสิทธิภาพ ป้องกันการติดเชื้ออักเสบจากสารพิษจากอาหาร ลดไขมันในเส้นเลือด เสริมภูมิคุ้มกันโรค และบำรุงระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองได้เป็นอย่างดี
และจากการศึกษาวิจัยจากองค์การอนามัยโลก (WHO) สำนักภูมิภาคเมดิเตอเรเนียนตะวันออก และจากข้อมูลการสำรวจและจัดอันดับประเทศที่มีสุขภาพดีที่สุดในโลกของ Bloomberg จำนวน 169 ประเทศทั่วโลก โดยพิจารณาถึงปัจจัยด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการมีอายุยืนยาว วัฒนธรรมการบริโภค การใช้ชีวิต สภาพเศรษฐกิจ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ความเสี่ยงของการเกิดโรคอ้วน รวมถึงการสูบบุหรี่ เป็นต้น สิ่งในระดับต้นๆ ของ 10 อันดับประเทศที่ประชากรที่มีสุขภาพมาอย่างยาวนาน และจากข้อมูลปี 2022 (พ.ศ.2565) ได้แก่ ประเทศสเปน อิตาลี ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน ออสเตรเลีย สิงคโปร์ นอร์เวย์ และอิสราเอล

โดยรวมดัชนีชี้วัดด้านสุขภาพสูงสุดนั้นจะบ่งชี้ไปที่ประเทศทีอยู่รอบๆ ทะเลเมดิเตอเรเนียน พาธแล็บจะชวนคุณมาหาคำตอบกันว่า ทำไมการศึกษาวิจัยในระดับโลกนี้ถึงเกี่ยวข้องการจุดเริ่มต้น วิธีการดูแลสุขภาพที่คุณคาดไม่ถึงและคุณสามารถทำได้เลย โดยจากการศึกษานั้น พบว่า สาเหตุหลักของการที่ประชากรประเทศรอบทะเลเมดิเตอเรเนียนมากกว่า 16 ประเทศนั้นก็คือ วิถีการกินอาหาร แบบ “Mediterranean Diet” การกินอาหารแบบผู้คนที่อาศัยอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนนั้นเอง แบบแนวทางที่เน้นการกินอาหารจากธรรมชาติมากที่สุด เน้นการกินไขมันดี จำกัดไขมันอิ่มตัว

โดยกินให้ได้รับพลังงานจากไขมันอยู่ที่เกิน 30% และต้องจำกัดไขมันอิ่มตัวให้น้อยกว่า 10% เน้นไขมันกลุ่ม MUFA ซึ่งได้จากน้ำมันมะกอก ถั่วเปลือกแข็งต่างๆ และการกินอาหารทะเล เช่น ปลาทะเล สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อให้ได้โอเมก้า-3 ที่เพียงพอ เลี่ยงเนื้อแดง หรือกินแค่เดือนละ 1-2 ครั้ง กินไฟเบอร์มากถึงวันละ 30 กรัมต่อวัน โดยได้จากธัญพืชไม่ขัดสี ผัก ผลไม้ ไม่กินอาหารที่มีการเติมน้ำตาลและเกลือ หรืออาหารที่ผ่านการปรุงแต่งหรือผ่านการแปรรูปหรือใช้การสังเคราะห์ทางเคมีสูง ผสมสารกันเสีย มีน้ำตาลสูง สารตกแต่งเพิ่มรสชาติหรือสีสันต่างๆ อาหารขยะหรือประเภท Junk Food